วิจัย บทความ


การพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย

การพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย

    การพัฒนาทักษะสังคมของเด็กเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ในทุกด้านของชีวิต คือการผสมผสานทักษะย่อยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ซึ่งรวมถึงการแสดงออกในทางที่เหมาะสม การสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสนใจความรู้สึกของผู้อื่น และความสามารถในการแสดงออกถึงความต้องการของตนเอง ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วเป็นส่วนสำคัญของทักษะทางสังคม การช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะทางสังคมที่จำเป็นนั้นต้องใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงพัฒนาการของเด็ก



การกระตุ้นทักษะทางสังคมสำหรับทารกแรกเกิดถึง 1 ปี




การแสดงออกถึงทักษะสังคมในเด็กวัยนี้จะเห็นได้จากการยิ้ม และส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบ ในขั้นนี้เด็กจะสนใจเฉพาะความต้องการหรือความปรารถนาของตนเอง
  • ให้พูดกับเด็กขณะที่กำลังร้องให้ หรือส่งเสียง ตอบสนองกับเด็กด้วยน้ำเสียงที่ปกติ จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กทารกพยายามที่จะสื่อสารกับเรามากขึ้น
  • ส่งเสริมให้ทารกสนใจพิจารณาสังเกตผู้อื่น โดยการตอบสนองเมื่อเด็กร้องให้ หรือมีความต้องการ นั่นเป็นการสอนให้ทารกรับรู้ความต้องการของผู้อื่น
  • ให้ความสนใจ ความรัก และการหอม การอุ้มกอดทารกเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพัฒนาการทางสังคม เป็นพื้นฐานความต้องการของขั้นพัฒนาการนี้ และไม่ควรสับสนว่าจะเป็นการโอ๋เอาใจเด็กที่มากเกินไป
  • ให้ทำท่าสงบเมื่ออยู่กับทารก เด็กทารกที่ร้องให้ตลอดทั้งคืนอาจทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิด แต่อย่างไรก็ตามควรหายใจเข้าลึกๆ แล้วสงบตัวเองก่อนที่จะอุ้มเด็กขึ้นมา จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการอยู่ร่วมกันอย่างสงบในสิ่งแวดล้อมทางสังคม

การกระตุ้นทักษะทางสังคมสำหรับเด็ก 1 ถึง 3 ปี


     ช่วยให้เด็กวัยเตาะแตะเรียนรู้ในการให้ความเคารพบุคคล หรือสิ่งที่เป็นของคนอื่น ในวัยนี้เด็กเริ่มพูดได้บางคำ หรือเป็นประโยคง่ายๆ  ส่วนใหญ่เด็กจะพยายามแยกตัวไปเล่นอยู่คนเดียว และยังไม่เรียนรู้การแบ่งปันสิ่งของ หรือของเล่น
  • สร้างสภาวะแวดล้อมทางสังคม (social environment) ในบ้าน เชิญผู้ปกครองหรือเด็กคนอื่นมาที่บ้านเพื่อเปิดตัวให้เด็กทำความรู้จักกัน
  • สอนให้เด็กเรียนรู้กฎพื้นฐาน อาจเป็นการแบ่งปันของเล่น การใช้คำพูดบอกเวลาที่โมโห หรือเวลาแตะหรือสัมผัสผู้อื่น หรือสัตว์เลี้ยงให้สัมผัสเบาๆ
  • ให้รางวัลเสริมแรงเชิงบวก ชมเชย เวลาที่เด็กแสดงพฤติกรรมแบ่งปัน และอ่อนโยน
   


การช่วยเด็กก่อนวัยเรียนให้มีเพื่อนเพิ่มขึ้น วัย 3 ถึง 5 ปี

   
     ช่วยให้เด็กวัยอนุบาลเพิ่มวงรอบของการมีสัมพันธ์กับเพื่อน  เด็กวัยนี้สามารถบอกความรู้สึกของตนเองออกมาเป็นคำพูดได้แล้วจึงควรส่งเสริมให้เด็กสร้างความสัมพันธ์ความเป็นเพื่อนกับเด็กคนอื่น

  • จัดให้มีเหตุการณ์ทางสังคมสำหรับเด็กเตรียมอนุบาล เพื่อเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น การจัดงานเลี้ยงที่บ้าน เชื้อเชิญให้เด็กมาทำกิจกรรมร่วมกัน
  • สอนให้เด็กวัยเตรียมอนุบาลเรียนรู้ที่จะใช้คำพูดเมื่อโมโห แทนการต่อสู้ อธิบายถึงเหตุผล ชี้ให้เห็นว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไรเวลาถูกตี และกระตุ้นให้เด็กพูดขอโทษเวลาที่ทำให้คนอื่นเสียใจ
  • ส่งเสริมให้เด็กวัยเตรียมอนุบาลให้พูดบอกถึงความรู้สึกของตนเอง ถามว่ารู้สึกอย่างไรต่อคนอื่น และช่วยให้เด็กรู้คำที่ใช้บอกความรู้สึกของตนเอง

การพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กวัยเรียน 6 ถึง 9 ปี


     การพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กวัยอนุบาล เมื่อเด็กเข้าสู่ระบบโรงเรียน จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น เช่น การแบ่งปันของเล่น การสื่อสารถึงความรู้สึก และความต้องการของตนเอง

  • การที่ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างพฤติกรรมที่ดี จะทำให้เด็กสังเกตและเรียนรู้พฤติกรรมนั้น การทักทายผู้อื่นอย่างอบอุ่น พูดคุยกับผู้อื่นอย่างให้ความเคารพ เมื่อเวลาเกิดความขัดแย้งจะทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะทำในแบบเดียวกัน
  • ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหาที่ดี เวลาที่มีความขัดแย้งกับเด็กคนอื่น เข้าไปถามถึงความรู้สึกของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสดงออกถึงความรู้สึกของตนเองต่อเด็กคนอื่นเพื่อเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหา
  • สอนให้เด็กยินดีกับจุดแข็งและความแตกต่างของแต่ละบุคคล ให้โอกาสเด็กได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเอง และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เด็กได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเองในทางที่เหมาะสม
  • http://www.mindbrainchildactivity.com/articles/42259860/การพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย.html




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สาธิตการสอนเรื่องเครื่องเขียน