บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันที่ 20 มกราคม 2562  เวลา  08.00 - 12.30 น.
จัดทำโดย
นาวสาว อารียา นิลกาเด็ด

เนื้อหาที่เรียน
การทำงานของสมอง
              สมองมีหน้าที่ซึมซับข้อมูลที่เรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือและเครื่องมือที่ใช้คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ทำแล้วจะต้องมีความสุข เป็นการกระทำของเด็กการลงมือทำเองคือวิธีการเรียนรู้หรือเรียกสั้นๆว่า ''การเล่นแล้วส่งไปประมวลผลเพื่อปรับโครงสร้างความรู้ใหม่
การจัดประสบการณ์
-            จัดประสบการณ์เล่นและเรียนรู้อย่างหลากหลาย
-            เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและตามสภาพแวดล้อมของสังคมที่เด็กอยู่อาศัย
-            จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
-            จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง
-            พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
               ทฤษฎีการเรียนรู้
               1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
               2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
               3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
               4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
               5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น ขั้นใหญ่ ๆ คือ
               1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
               2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
               3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
               6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
               7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน                                                                                                                       
-            กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
-            การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
-            การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
-            ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
-            การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
-            การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
-            การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น

-            การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
ที่มา https://www.baanjomyut.com

คำศัพท์
               1. Intuition          การรหยั่งรู้
               2. Sensation        ประสาทสัมผัส
               3. Ability             ความสามารถ
               4. Abstract          นามธรรม
               5. Discovery Learning     ค้นพบการเรียนรู้


                           การประเมิน
                    ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม                         
                           ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สาธิตการสอนเรื่องเครื่องเขียน